วันศุกร์ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ส่ง opac โปรแจ๊ค

http://www.mediafire.com/?zxnphnfztd3q1ad

รบกวนอาจารย์ก๊อปURL.ไปเข้าเนื่องจากใช้คอมที่ร้านมันคลิกแทรกลิงก์ไม่ได้ครับ

วันอังคารที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่ 4

การจัดกลุ่มแบ่งประเภทของสารานุกรม

สารานุกรมสามารถแบ่งออกได้หลายประเภทหลายรูปแบบ ซึ่งข้อมูลจากสารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย [wikipedia.net] ให้หลัก
การแบ่งประเภทของสารานุกรม ออกเป็น ๔ ประเภท ได้แก่

(ก) แบ่งตามผู้แต่งหรือเรียบเรียงเนื้อหา
(ข) แบ่งตามความเจาะจงของเนื้อหา
(ค) แบ่งตามการเรียงลำดับของเนื้อหา
(ง) แบ่งตามรูปแบบในการนำเสนอ

จากข้อมูลการสำรวจ ประเภทของสารานุกรมดังกล่าวและจากข้อมูลประกอบอื่นๆ โครงการจัดทำสารานุกรมโทรคมนาคม
ไทยจึงแบ่งประเภทของสารานุกรมที่เกี่ยวข้องกับโครงการฯ เพื่อการจัดทำและการบริหารโครงการฯ ออกเป็นสองประเภทตาม
ลักษณะของการจัดทำ คือ สารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญและสารานุกรมเสรี โดยสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ มีเนื้อหามาจากการ
เขียนและเรียบเรียงโดยผู้เชี่ยวชาญเฉพาะคุณภาพและการยอมรับจากผู้ใช้งาน ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของผู้เชี่ยวชาญหรือ
สำนักพิมพ์ เช่น สารานุกรมบริเตนนิกา (Britannica) ของประเทศสกอตแลนด์ เป็นต้น
ส่วนสารานุกรมเสรีมีเนื้อหามาจากบุคคลทั่วไปหลากหลายอาชีพสามารถแก้ไขปรับปรุงเพิ่มเติมเนื้อหาได้ทันทีผ่านทาง
เว็บไซต์ เน้นหลักการมีส่วนร่วมของผู้ใช้หรือบุคคลในวงกว้าง ดังนั้น เนื้อหาสารานุกรมเสรี จึงมีความหลากหลายของข้อมูล
และมีปัจจัยทางด้านลิขสิทธิ์ ที่ผู้อ่านสามารถนำเนื้อหาหรือซอฟต์แวร์ ไปใช้งานได้ภายใต้ข้อกำหนด โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย เช่น
สารานุกรมเสรีวิกิพีเดีย (Wikipedia) ดังนั้นทางโครงการฯจึงนำข้อเด่นของสารานุกรมทั้งสองประเภทมาประกอบใช้ร่วมกันโดย
แสดงลักษณะการจัดทำสารานุกรมโดยผู้เชี่ยวชาญ และสารานุกรมเสรี

วันจันทร์ที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ข่าวประจำสัปดาห์ที่3

สารานุกรมคืออะไร สารานุกรมไทย (Encyclopedia) มาจากอะไร"

ความหมายของสารานุกรม“สารานุกรม คือหนังสือที่รวบรวมเรื่องราวต่างๆ ทุกหัวข้อวิชาและทุกแขนงโดยให้ความรู้ที่เป็นพื้นฐานกว้าง ๆ เขียนโดยผู้ชำนาญในแต่ละสาขาวิชานั้น ๆ การเรียงลำดับเนื้อเรื่องอาจเรียงลำดับตามตัวอักษรหรือหมวดหมู่มีดรรชนี เรื่องอย่างละเอียด หนังสือสารานุกรมมีทั้งชนิดเล่มเดียวจบ และเป็นชุดหลายเล่มจบ เช่นสารานุกรมสำหรับเด็กซึ่งใช้ภาษาง่าย และสารานุกรมสำหรับผู้ใหญ่”ความหมายและที่มา มาจากเว็บไซต์ school ดอท net ดอท th

รากฐานของคำว่าสารานุกรมมีที่มาจาก

คำสมาสจากคำว่า”สาร”และ”อนุกรม” กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น สารานุกรมสำหรับเยาวชน
สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน
และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้
สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน
ใน"ประเทศไทย" มีโครงการจัดทำ สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

วิธีใช้สารานุกรมสารานุกรมทุกชนิดจะเรียงลำดับตามตัวอักษรของเนื้อเรื่องทุก ๆ บทความ และมีส่วนต่างๆ ที่ช่วยให้เราค้นหาเรื่องที่ต้องการได้อย่างรวดเร็ว คือ1. มี VOLUME GUIDE คือตัวแนะหรือตัวช่วยค้น2. มีดรรชนีช่วยในการค้นหาเรื่องที่เราต้องการ มักจะอยู่ท้ายเล่มของทุกเล่ม หรือมี ดรรชนีรวมอยู่เล่มสุดท้ายของชุด3. บทความหรือหัวข้อเรื่องที่มีชื่อประกอบหลายคำให้ใช้คำแรกเป็นหลัก4. หัวเรื่องที่มีคำย่อให้ดูที่คำเต็ม เช่น Mt. Everest ให้ดูที่ Mount Everest5. สำหรับสารานุกรมภาษาอังกฤษเมื่อต้องการหาเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลให้ดูที่ชื่อสกุลหรือชื่อสุดท้ายเป็นหลัก

ประโยชน์สารานุกรมหนังสือสารานุกรมใช้ในการตอบปัญหาเกี่ยวกับเรื่องทั่วๆ ไป โดยให้คำอธิบายอย่างกว้าง ๆ ทุกแขนงวิชา ซึ่งเป็นประโยชน์สำหรับการค้นคว้าหาความรู้พื้นฐานทั่วไป

ข่าวประจำสัปดาห์ที่2

สารานุกรม คือเรื่องคัดย่อที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับการรวบรวมความรู้ เป็นคำสมาสจากคำว่า"สาร"และ"อนุกรม" กล่าวคือเป็นความรู้ที่เป็นเรื่องราวถูกจัดเรียงในลำดับ จะมีทั้งประเภทความรู้ทั่วไป และความรู้เฉพาะด้านเช่น สารานุกรมการเกี่ยวกับการแพทย์ คณิตศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หรือ จัดทำเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ เช่น

สารานุกรมสำหรับเยาวชน

สารานุกรมที่เป็นที่รู้จักกันดีได้แก่ สารานุกรมบริเตนนิกา (Encyclopædia Britannica) สารานุกรมที่เก่าแก่ที่สุดในโลกที่มีการตีพิมพ์ [1] ตีพิมพ์ฉบับแรกในภาษาอังกฤษในช่วงปี พ.ศ. 2311-2314 (ค.ศ. 1768–1771) ในเมืองเอดินบะระ สกอตแลนด์ ซึ่งในปัจจุบันได้มีการตีพิมพ์และจำหน่ายในฉบับซีดี
สารานุกรมสามารถเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเรื่องทั่วไป ดังที่ปรากฏในสารานุกรมที่มีชื่อเสียง สารานุกรมบริเตนนิกาในภาษาอังกฤษและสารานุกรมบร็อกเฮาส์ (Brockhaus)ในภาษาเยอรมัน หรือสารานุกรมอาจจะเป็นเรื่องราวเฉพาะทางเช่น สารานุกรมเกี่ยวกับ การแพทย์ ประวัติศาสตร์ ปรัชญา หรืออาจจะเป็นสารานุกรมที่ครอบคลุมเนื้อหาในแต่ละภูมิภาค ประเทศ หรือกลุ่มชน และขณะที่บางสารานุกรมจัดทำขึ้นเฉพาะกลุ่มเป้าหมาย เช่นสารานุกรมสำหรับเยาวชน ที่จะมีเนื้อหาที่อ่านง่าย และเข้าใจง่าย สารานุกรมจะใช้การจัดเรียงหัวข้อ 2 ลักษณะ คือ เรียงตามอักขระ และ เรียงตามกลุ่มเนื้อหา ในยุคปัจจุบันมีการพัฒนาของเทคโนโลยีได้มีการนำสารานุกรมมาจัดเก็บในรูปแบบใหม่รวมถึงการจัดเรียงลำดับข้อมูล ดังตัวอย่างเช่นโครงการวิกิพีเดีย และ เอชทูจีทู (h2g2) เพื่อให้การใช้งานสารานุกรมง่ายต่อการใช้

สารานุกรมเป็นคำสมาสจากคำ สาร และ อนุกรม มีความหมายรวมว่า สาระ หรือ เรื่องราว ซึ่งมีการจัดเรียงเป็นลำดับ หมวดหมู่ คำว่าสารานุกรมในภาษาอังกฤษ คือ Encyclopedia หรือ Encyclopædia ซึ่งมีที่มาจากภาษากรีก εγκύκλιος παιδεία (enkyklios paideia; "in a circle of instruction") จากคำว่า εγκύκλιος หมายถึง circuit shaped. โดย κύκλος หมายถึง circuit และ παιδεία หมายถึง instruction. คำว่า Encyclopedia นี้บางครั้งก็ใช้ว่า Cyclopaedia ซึ่งให้ความหมายเหมือนกัน
ในประเทศไทยมีโครงการจัดทำ
สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฉบับกาญจนาภิเษก โดยพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และโครงการเครือข่ายคอมพิวเตอร์เพื่อโรงเรียนไทย ที่มีลักษณะคล้ายสารานุกรม